วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552




‘โซฮอล์’ เชื้อเพลิงอุดมประโยชน์


แก๊สโซฮอล์ เป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่าง เอทานอล หรือที่เรียกว่า
เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5 % ผสมกับนํ้ามันเบนซีนไร้สารตะกั่วออกเทน
91 ในอัตราส่วนนํ้ามันเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จะได้แก๊สโซฮอล์ที่มีคุณสมบัติ เหมือนนํ้า
มันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 สามารถใช้ได้กับรถยนต์ที่มีระบบหัวฉีด แก๊สโซฮอล์มีคุณสมบัติ
อยูใ่ นเกณฑ์ตามข้อกำ หนดมาตรฐานได้แก่ ค่าออกเทนไม่ต่ำ กว่า 95.0 ซึ่งค่าออกเทนของน้ำ มันเบนซิน
จะบ่งบอกถึงคุณภาพในการต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์ และมีค่าความดันซึ่งจะมีผลต่อการสตาร์ท
เครื่องยนต์ไม่สูงกว่า 65 kpa แก๊สโซฮอล์จะมีคุณสมบัติเหมือนนํ้ามันเบนซินออกเทน 95 ทุกประการ
ยกเว้น สาร Oxygenate Compound ที่กำ หนดให้มีการเติมในนํ้ามันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 ใน
ปริมาณ 5.5 – 11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยทั่วไปในนํ้ามันเบนซินออกเทน 95 ที่ใช้ในตลาดปัจจุบันจะเติม
MTBE (Methyl Tertiaryl Butyl Ether) แต่ในแก๊สโซฮอล์จะใช้เอทิลแอลกอฮอล์ 99.5 % ทดแทนใน
ปริมาณ 10-11 % ซึ่งจะยังคงให้คุณสมบัติในการใช้งานกับเครื่องยนต์เหมือนกันกับใช้นํ้ามันเบนซิน
ออกเทน 95 ทุกประการ

ความสำคัญของแก๊สโซฮอล์

ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำ เข้านํ้ามันจากต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อราคานํ้ามันผัน
ผวน ย่อมส่งผลต่อเม็ดเงินที่ประเทศต้องจ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาศักยภาพการผลิตพลังงานทดแทน
โดยเฉพาะแอลกอฮอล์ที่ได้จากพืชแล้ว ประเทศไทยก็ถือได้ว่ามีศักยภาพในการผลิตทดแทน เนื่องจาก
มีแหล่งวัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตรจำ นวนมาก เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำ ปะหลัง อ้อย ข้าวฟ่าง
หวาน เป็นต้น จึงเป็นโอกาสดีที่จะพัฒนาเชื้อเพลิงทดแทนขึ้น เพื่อลดการนำ เข้านํ้ามัน ขณะเดียวกัน
ยังแก้ปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกตํ่า ทำ ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง
เมื่อมีการใช้แก๊สโซฮอล์แล้ว ยังสามารถลดการนำ เข้าสาร MTBE (Methyl Tertiaryl Butyl
Ether) ซึ่งเป็นสารเพิ่มปริมาณออกซิเจนเพื่อเพิ่มค่าออกเทนจากเบนซิน 91 เป็นเบนซิน 95 ได้อีกด้วย
ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำ เข้าสาร MTBE (Methyl Tertiaryl Butyl Ether) ถึงปีละ 3,000 ล้าน
บาท ขณะที่แก๊สโซฮอล์ใช้เอทานอลเป็นสารเพิ่มปริมาณออกซิเจนและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เหมือนกับ MTBE (Methyl Tertiaryl Butyl Ether) ซึ่งย่อยสลายยากจากสถานการณ์ล่าสุดของ
ประเทศไทยได้เริ่มประกาศยกเลิกใช้สาร MTBE ให้หมดไปภายใน 2550
นอกจากนี้แก๊สโซฮอล์จะทำ ให้ปริมาณสารที่ก่อให้เกิดมลพิษ เช่น ไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอน
มอนอกไซด์ลดลง ส่งผลให้คุณภาพอากาศดีขึ้น ลดปัญหาภาวะโลกร้อน (Green House Effect )
เนื่องจากเอทานอลที่ผสมอยู่ในแก๊สโซฮอล์นั้นมีออกซิเจนอยู่ด้วยจึงช่วยทำ ให้การเผาไหม้ของเครื่อง
ยนต์สมบูรณ์ขึ้น ส่งผลให้คาร์บอนมอนอกไซด์ที่ออกจากท่อไอเสียรถยนต์ลดลงเกือบ 40 % และนํ้า
มันผสมแอลกอฮอล์เป็นนํ้ามันที่เบา เกิดการสันดาปได้รวดเร็ว จึงทำ ให้ไฮโดรคาร์บอนจากเบนซินที่
เหลือจากการเผาไหม้ลดลงประมาณ 20 %
ผลดีต่อเครื่องยนต์ แก๊สโซฮอล์ช่วยให้ประหยัดเชื้อเพลิงได้เช่นเดียวกันกับนํ้ามันเบนซินออก
เทน 95 และไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะการใช้งาน ทั้งยังมีอัตราการเร่งของเครื่องยนต์ดีกว่านํ้ามัน
เบนซิน 95 ผูใ้ ช้ไม่จำ เป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำ เนินการปรับแต่งเครื่องยนต์ เพราะสามารถเติม
ผสมกับนํ้ามันที่เหลืออยู่ในถังได้เลย โดยไม่ต้องรอให้นํ้ามันในถังหมด ซึ่งสามารถช่วยลดการนำ เข้า
นํ้ามันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ลดการขาดดุลทางการค้า สามารถใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการ
เกษตรได้สูงสุดและยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร อีกทั้งยังทำ ให้เครื่องยนต์มีการเผาไหม้ที่ดีขึ้น
ทำ ให้ช่วยลดมลพิษไอเสียทางอากาศและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอน
และคาร์บอนมอนอกไซด์ลง 20-25 % ทำ ให้ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยของประชาชนใน
ประเทศ ทำ ให้เกิดการลงทุนที่หลากหลายทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม
ส่วนเอทานอลซึ่งเป็นวัตถุดิบที่สำ คัญของแก๊สโซฮอล์ ทางกระทรวงพลังงานได้ออกมายืนยัน
ว่า ประเทศไทยมีกำ ลังการผลิตเพียงพอต่อความต้องการใช้ของประชาชน โดยคาดว่าต้นปี 2548
กำ ลังการผลิตเอทานอลจะเพิ่มเป็น 225,000 ลิตรต่อวันและจะเพิ่มเป็น 1 ล้านลิตรต่อวันภายในปี
2549 และขณะนี้กระทรวงพลังงานกำ ลังศึกษาและจัดทำ คุณลักษณะของแก๊สโซฮอล์ในนํ้ามันเบนซิน
ออกเทน 91 เพื่อให้เป็นทางเลือกรองรับการใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มเติมในอนาคตสำ หรับประชาชนต่อไป
จากภาวะนํ้ามันแพงในปัจจุบันกระทรวงพลังงานได้ดำ เนินการส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์อย่าง
จริงจัง โดยได้ประกาศราคาจำ หน่ายแก๊สโซฮอล์ให้มีราคาถูกกว่านํ้ามันเบนซินออกเทน 95 เพื่อเป็น
ทางเลือกสำ คัญในการประหยัดค่านํ้ามันของประชาชน ลดการนำ เข้าสาร MTBE รวมทั้งเป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้แก๊สโซฮอล์สามารถเติมรถยนต์ได้โดยไม่ต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงได้ร่วม
กับผู้บริหารบริษัทรถยนต์ชั้นนำ ของโลกเพื่อรับประกันว่ารถส่วนใหญ่สามารถใช้นํ้ามันแก๊สโซฮอล์ได้
ด้านสถานีบริการนํ้ามันที่จำ หน่ายแก๊สโซฮอล์ในขณะนี้มีอยู่กว่า 200 แห่ง เป็นสถานีบริการของนํ้ามัน
ปตท. 89 สถานี บางจาก 106 สถานี และเชลล์ 9 สถานี รวมทั้งสิ้น 204 สถานี เชื่อว่าอีกหลาย
บริษัท ฯ จะต้องเร่งสร้างสถานีจำ หน่ายแก๊สโซฮอล์ให้กับประชาชน
ด้านการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ( มหาชน ) จำ กัด ระบุว่า ปตท.กำ ลังวางแผนขยาย
ปั๊มนํ้ามันแก๊สโซฮอล์ ซึ่งต้องการให้รัฐบาลประกาศราคาใหม่โดยคาดว่าประชาชนจะหันมานิยมใช้เพิ่ม
ขึ้น แต่ในส่วนของโรงกลั่นนํ้ามันนั้นยังประสบปัญหาแบกรับภาระแทนประชาชนคือ ผลิตนํ้ามัน
พิเศษเพื่อมาผสมกับเอทานอล ต้นทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 20 สตางค์ต่อลิตร ซึ่งโรงกลั่นยัง
สามารถรับภาระได้ในช่วงต้น เนื่องจากนำ มาเฉลี่ยกับรายได้ค่าการกลั่นที่สูง แต่คาดว่าในอนาคตรัฐ
บาลคงจะต้องมีการกำ หนดแนวทางเพื่อผ่อนคลายภาระของโรงกลั่นนํ้ามัน
จากที่มีการวิเคราะห์กันว่านํ้ามันซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักจะหมดไปจากโลกอีก 50 ปีข้างหน้า
เนื่องจากมีรถยนต์ทั่วโลกประมาณ 700 ล้านคันและคาดว่าในปี 2563 จะมีรถยนต์ที่ออกมาใช้งาน
มากถึง 1,500 ล้านคัน ทำ ให้สัดส่วนการใช้นํ้ามันสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นทางภาครัฐต้องมีเชื้อเพลิง
ทางเลือกอื่นมารองรับ และที่สำ คัญไปกว่านั้นผู้ประกอบการรถยนต์ทั้งหลายก็ต้องรู้จักพัฒนา
เทคโนโลยีใหม่สำ หรับรองรับเชื้อเพลิงอื่นที่ไม่ใช่นํ้ามันด้วย
ที่มา : http://www.mesutstudent.com/board/showthread.php?tid=152
http://www.vcharkarn.com/varticle/16376
http://www.tei.or.th/songkhlalake/database/knowledge/gasohol.pdf


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น