วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บทสรุปของ Gasohol จากสถาบันและบริษัทน้ำมัน


แก๊สโซฮอล์ (Gasohol) น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่าง เอทานอล * หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้มาเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 95 ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิลพิเศษไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95

แก๊สโซฮอล์ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 โดยทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการส่วนประองค์สวนจิตรลดาได้ศึกษากระบวนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย และนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้นี้มาผสมกับน้ำมันเบนซิน ผลิตเป็นน้ำมัน "แก๊สโซฮอล์" เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยโครงการส่วนพระองค์ได้เริ่มผลผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้



นอกจากราคาแก๊สโซฮอล์จะถูกกว่าน้ำมันเบนซินธรรมดา ซึ่งช่วยประหยัดการใช้น้ำมันและเงินตราต่างประเทศในการซื้อน้ำมันไปได้มากแล้ว แก๊สโซฮอล์ยังช่วยลดปริมาณมลพิษจากท่อไอเสียและมลพิษในอากาศ เพราะสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนมอนนอกไซด์ลงได้ถึง 30% ทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

แก๊สโซฮอล์สามารถเติมได้กับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นตามที่ผู้ผลิตแนะนำโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์ และสามารถเติมผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ในถังได้เลยไม่ต้องรอให้น้ำมันหมดถังก่อน และหากไม่มีจุดเติมแก๊สโซฮอล์ก็สามารถเปลี่ยนไปเติมน้ำมันเบนซินทั่วไปได้ทันทีเช่นกัน เพราะแม้ว่าสารเติมแต่งค่าออกเทนที่กำหนดให้มีในการเติมน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95 โดยทั่วไปนั้น จะเติม MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) แต่สำหรับแก๊สโซฮอล์ที่จะใช้ Ethyl Alcohol 99.5% ทดแทนในปริมาณ 10% แต่คุณสมบัติในการใช้งานกับเครื่องยนต์ยังคงเหมือนกันทุกประการ นอกจากนี้ การผลิตแก๊สโซฮอล์ยังถือเป็นการใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกอฮอล์ได้ทั้งหมด ช่วยลดงบประมาณในการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรลงได้ถึงหนึ่งหมื่นล้านบาท


ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเติมแก๊สโซฮอล์ 95

เนื่องจากแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่าง เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน

1. คุณสมบัติของแอลกอฮอล์ คือระเหยเร็ว ทำให้เกิดหยดน้ำในถัง อาจทำให้ถังน้ำมันเกิดสนิมและผุเร็วกว่าที่ควรจะเป็น อาจทำให้เกิดการอุดตันในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง

2. ควรเติมแก๊สโซฮอล์ 95 สลับกับเบนซิน 95 เนื่องจากในแก๊สโซฮอล์ไม่มีสารหล่อลื่นบ่าวาวล์เหมือนในเบนซิน 95 จึงทำให้เกิดการสึกหรอที่บ่าวาวล์มากขึ้น

3. จากการใช้งานจริงอัตราการเร่งลดลงในช่วง 0 – 100 กม./ชม. ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเบนซิน 95 จึงเป็นเหตุให้ต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น เกิดการสึกหรอเร็วขึ้น

4. การเติมเอทานอล ลงในเบนซิน 95 มีผลต่อคุณสมบัติบางประการของวัสดุประเภทยางที่ใช้เป็นระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์มากกว่า

5. การเติมเอทานอล ลงในเบนซิน 95 มีผลต่อคุณสมบัติบางประการของวัสดุประเภทพลาสติก ที่ใช้เป็นระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์

6. อัตราการกินน้ำมันของรถ เปรียบเทียบระหว่าง แก๊สโซฮอล์ 95 กับ เบ็นซิน 95 จากการใช้จริง

ก่อนหน้านี้ เติมเบ็นซิน 95 จำนวน 40 ลิตร วิ่งได้ระยะทาง = 400 กม.
เบ็นซิน 95 จำนวน 40 ลิตร ราคาลิตรละ 23.34 บ. เป็นงิน = 933.60 บาท

ปัจจุบัน เติมแก๊สโซฮอล์ 95 จำนวน 40 ลิตร วิ่งได้ = 360 กม.
แก๊สโซฮอล์ 95 จำนวน 40 ลิตร ราคาลิตรละ 21.84 บ. เป็นเงิน = 873.60 บาท

ดังนั้นการเติมแก๊สโซฮอล์ 95 ประหยัดเงิน (เท่ากับ 933.60 - 873.60) = 60 บาท
แต่... ระยะทางจะหายไป (เท่ากับ 400 – 360) = 40 กม.

(ต้องเติม แก๊สโซฮอล์ 95 เพิ่มอีก 4.44 ลิตร จึงจะวิ่งได้ 400 กม. = เติมเบ็นซิน95 จำนวน 40 ลิตร)

สรุป ต้องเติมแก๊สโซฮอล์ 95 จำนวน 44.44 ลิตร เป็นเงิน = 44.44x21.84 = 970.57 บาท

ผลต่างคือ : ระยะทาง 400 กม. เติมแก๊สโซฮอล์ 95 = 970.57 บาท
ระยะทาง 400 กม. เติมเบ็นซิน 95 = 933.60 บาท

กลายเป็นว่าต้องเสียเงินเพิ่ม 36.97 บาท จากการเติมแก๊สโซฮอล์95 เพื่อที่จะให้วิ่งได้ 400 กม. (เท่ากับเติมเบ็นซิน 95)

บทสรุป

" ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราว่าจะเลือกใช้อย่างไหน แต่ทั้งสองอย่างก็มี ข้อด้อย ข้อดี แตกต่างกันไป " หากมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ โทร. 0 2354 1648-51 โทรสาร 0 2354 1647

ที่มา:http://www.worldusedcar.com/thai/gasohol2.php

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แก๊สโซฮอล์

ความหมายและความสำคัญของแก๊สโซฮอล์

แก๊สโซฮอล์เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่างเอทานอล หรือ ที่เรียกว่า เอทิลแอลกอฮอล์ (ETHYL ALCOHOL) ซึ่งเป็น แอลกอฮอล์ ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ และเป็นแอลกอฮอล์ บริสุทธิ์ 99.5 % โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 91 (ชนิดที่มีคุณสมบัติบางตัวต่างจากเบนซิน 91 ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ออกเทน 95

ส่วนที่เรียกแก๊สโซฮอล์นั้น ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษจากคำว่า GASOLINE และ ETHANOL รวมกันเป็น GASOHOL สำหรับการผสมแอลกอฮอล์ในน้ำมันเบนซินในข้างต้น เป็นในลักษณะของสารเติมแต่งปรับปรุงค่า Oxygenates และออกเทน (Octane) ของน้ำมันเบนซิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเติมแต่งชนิดอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ MethyL-Tertiary-ButyL-Ether (MTBE) ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศมูลค่าหลายพันล้านต่อปี


น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (GASOHOL)

ทุกวันนี้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินที่ลิตรละเกือบ 30 บาท ได้ทำลายสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์วงการราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศไทยและกลายเป็นประเด็นปัญหาสำคัญที่สุดในทุกวงการได้พูดคุยถกเถียงกันหนาหู ถึงราคาที่ปรับขึ้นจนใกล้เข้าสู่จุดวิกฤตอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งนี้สืบเนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่ขยับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องด้วยประเทศไทยจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบทั้งหมด และยังคงต้องพึ่งพิงน้ำมันอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องพยายามหาแหล่งพลังงานทดแทนในประเทศมาใช้แทนน้ำมัน และหาแนวทางการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากความต้องการของพลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทยในปี พ.ศ.2548 พบว่า ภาคขนส่งมีการใช้พลังงานมาที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38 เกือบทั้งหมดเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยจะต้องลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 700,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ "แก๊สโซฮอล์"


ที่มา:http://www.energy.go.th/moen/Index.aspx?MenuID=61

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กรุณาดาวโหลดไฟล์Googleลงคอมพิวเตอร์ของท่าน

ความเป็นมาของ " แก๊สโซฮอล์" ในประเทศไทย







ความเป็นมาของ " แก๊สโซฮอล์" ในประเทศไทย


.. " แก๊สโซฮอล์" เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทย อาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตร มีราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริ ให้โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ศึกษาถึงการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ โดยการนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้นี้มาผสมกับน้ำมันเบนซิน ผลิตเป็นน้ำมัน "แก๊สโซฮอล์"(GASOHOL) เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน
ปี พ.ศ. 2529 ทางโครงการส่วนพระองค์ ได้เริ่มผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย หลังจากนั้นได้มีหน่วยงานรัฐและเอกชนให้ความร่วมมือ ในการพัฒนาแอลกอฮอล์ที่ใช้เติมรถยนต์อย่างต่อเนื่อง ปี พ.ศ. 2539 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(ปตท.) ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วท.) ..และโครงการส่วนพระองค์ได้ร่วมกันปรับปรุงคุณภาพแอลกอฮอล์ ที่ใช้เติมรถยนต์โดยการนำแอลกอฮอล์ที่โครงการส่วนพระองค์ผลิตได้ ที่มีความบริสุทธิ์จากเดิม 95% ..ไปกลั่นซ้ำเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% แล้วจึงนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินธรรมดาในอัตราแอลกอฮอล์ 1 ส่วนกับเบนซิน 9 ส่วน เป็นน้ำมัน"แก๊สโซฮอล์" ทดลองเติมให้กับรถยนต์เบนซินของโครงการส่วนพระองค์


ส่วนประกอบของแก๊สโซฮอล์


แก๊สโซฮอล์ ที่ ปตท. ผลิตออกจำหน่ายในปัจจุบัน เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่างเอธานอล (Ethanal) หรือที่เรียกว่า เอทธิลแอลกอฮอล์( Ethyl Alcohol)ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินชนิดธรรมดาไร้สารตะกั่ว (URL 91) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอธานอล 1 ส่วน จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่วออกเทน 95 (เอธานอล หรือ เอทธิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้ จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่นอ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ)



แก๊สโซฮอล์ 95 เบนซินสะอาด

แก๊สโซฮอล์ 95 คือ เบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 ที่มีส่วนผสมของ น้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ มีคุณสมบัติการใช้งาน เทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 ทั่วไป แต่มีราคาถูกกว่า 50 สตางค์ต่อลิตร

โครงการแก๊สโซฮอล์ เกิดขึ้นในปี 2528 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทย อาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาศึกษา ถึงการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และได้ทดลองใช้กับรถยนต์ในโครงการส่วนพระองค์ตั้งแต่ปี 2537 โดยทดสอบกับเครื่องยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ได้ผลดีทั้งในห้องปฏิบัติการและท้องถนน

บริษัท บางจากฯ (มหาชน) ได้น้อมรับแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาสานต่อให้เกิดเป็นรูปธรรมในวงกว้าง ได้ผลิตและจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 95 ที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก โดยได้เริ่มทดลองจำหน่ายเมื่อปี 2544 ปัจจุบันมีจำหน่ายอย่างแพร่หลายที่สถานีบริการน้ำมันบางจาก ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ขณะนี้แก๊สโซฮอลมีจำหน่ายที่สถานีบริการน้ำมันของ ปตท. และสถานีบริกาารน้ำมันบางจาก

แก๊สโซฮอล์ 95 เบนซินสะอาด เพื่อชาติ เพื่อคุณ
แก๊สโซฮอล์ 95 มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ดังนั้นนอกจากจะคุณสมบัติการใช้งานเทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 ทั่วไป แต่มีราคาถูกกว่า 50 สตางค์ต่อลิตรแล้ว ยังเป็นพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม

โดยแก๊สโซฮอล์ 95 มีไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าเบนซิน 95 ทั่วไป ช่วยลดควันดำ สารอะโรเมติกส์ สารเบนซีน และช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองจากท่อไอเสีย จึงนับได้ว่า แก๊สโซฮอล์ 95 เป็นเบนซินที่สะอาด ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

เพื่อชาติ

เป็นพลังงานทดแทน ผลิตจากพืชเกษตรในประเทศ ใช้แทนสารเพิ่มออกเทนที่นำเข้าจาก
ต่างประเทศ ประหยัดเงินตราต่างประเทศมากกว่า 3,000 ล้านบาท ต่อปี


ประหยัดการใช้น้ำมันที่มีอยู่จำกัด โดยการนำเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซิน จะช่วยลดการใช้
น้ำมันของประเทศลงได้ประมาณ 10% หรือเดือนละ 25 ล้านลิตร


เกษตรกรไทยมีรายได้สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการผลิตเอทานอลที่ได้จากพืชเกษตร

ลดมลพิษทางอากาศ โดยลดไฮโดรคาร์บอน และคาร์บอนมอนนอกไซด์ ลงได้ 20-25 %
ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ก่อให้เกิดสภาวะ เรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ (GREEN HOUSE EFFECT) รวมทั้งลดควันดำ ลดสารอะโรเมติกส์ และลดสารเบนซีน

ช่วยกระจายการลงทุน การจ้างงานสู่ชนบท


เพื่อคุณ


ได้ใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ในราคาที่ประหยัดลง 50 สตางค์ต่อลิตร

ช่วยให้เครื่องยนต์เผาไหม้สะอาด สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ได้มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อนร่วมชาติให้ขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น

ได้ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลถึงชีวิตตนเอง ลูกหลาน และเพื่อนร่วมชาติ


มารู้จักแก๊สโซฮอล์กันเถอะ

แก๊สโซฮอล์คือส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ซึ่งเอทานอลเราสามารถผลิตได้จากพืชที่ปลูกในประเทศ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง รวมทั้งธัญพืช เช่นข้าวฟ่าง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น ได้

ปัจจุบันรัฐบาล โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้น โดยให้มีราคาต่ำกว่าน้ำมันเบนซินลิตรละ 1.50 บาท และมีน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้ใช้ 2 ชนิดคือ แก็สโซฮอล์ 95 ใช้แทนเบนซิน 95 และแก๊สโซฮอล์ 91 ใช้แทนเบนซิน 91

ดังนั้นการที่เราเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ จึงเป็นการช่วยชาติในการลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และยกระดับราคาพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งช่วยลดมลพิษไอเสียทางอากาศแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย...>>>

เอทานอลเกิดขึ้นได้อย่างไร

เอทานอลเป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการหมักพืช เพื่อเปลี่ยนแป้งจากพืชเป็นน้ำตาลแล้วเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น จะเรียกว่า เอทานอล (Ethanol) เอทานอลที่นำไปผสมในน้ำมันเพื่อใช้เติมเครื่องยนต์เป็นแอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์ตั้งแต่ 99.5% โดยปริมาตร ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้...>>>


ความเป็นมาของการใช้แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย

การผลิตแก๊สโซฮอล์ ในประเทศไทยนั้นเกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี 2528 โดยโครงการส่วนพระองค์ ได้ศึกษาการผลิตแก๊สโซฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยผลิตเอทานอลจากอ้อย หลังจากนั้นก็เกิดความตื่นตัวทั้งจากภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาและนำไปทดสอบกับเครื่องยนต์

ในปี 2543 ปตท.ดำเนินการทดสอบการใช้แก๊สโซฮอล์ในรถยนต์ พบว่า ช่วยลดมลพิษ ประหยัดน้ำมัน และไม่มีผลต่อสมรรถนะ และได้มีการผลิตแอลกอฮอล์จากหัวมันสด โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ซึ่งจะส่งให้โรงกลั่นของบางจากผลิตเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งได้ทดลองจำหน่ายเมื่อปี 2544 ในสถานีบริการน้ำมันของบางจาก 5 แห่งในเขตกรุงเทพฯ โดยมีราคาจำหน่ายต่ำกว่าน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 เล็กน้อย ซึ่งก็ได้ผลตอบรับที่น่าพอใจ
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

tast_nongnoy

กรุณาดาวน์โหลดไฟล์Googleลงคอมพิวเตอร์ของท่าน

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2552

แก๊สโซฮอล์ 95 (GASSOHOL)




คำว่า “แก๊สโซฮอล์” มาจากคำว่า GASSOLINE (แก๊สโซลีน) บวกกับคำว่า ALGOHOL (แอลกอฮอล์) ซึ่งนำ 2 คำแรกของแก๊สโซลีน+คำสุดท้ายของแอลกอฮอล์ ก็จะได้ แก๊สโซฮอล์ (GASSOHOL)

สำหรับประเทศไทย ณ ปัจจุบัน (พ.ศ.2550) ได้ใช้แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ได้มาจากใช้น้ำมันเบนซิน ออกเทน 91 (พิเศษ) จำนวน 90% ผสมกับ เอทานอล 10% จึงได้ E10 นั่นเอง อนาคตสำหรับประเทศไทยในปี พ.ศ.2551 จะมี E20 ใช้ในประเทศไทย หลายคนยังวิตกว่าสามารถใช้งานเหมือนออกเทน 95 หรือ 91 ได้หรือไม่ บางคนก็บอกว่าใช้แล้วไม่แตกต่าง บ้างก็ว่าแตกต่าง แต่อย่างน้อยก็มีข้อดีมากกว่าข้อเสียอยู่ดี เช่น

ลดการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ
ลดการขาดดุลการค้า ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ
สนับสนุน และใช้ประโยชน์ต่อพืชผลทางการเกษตร
ประหยัดเงินค่าเติมน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะแก๊สโซฮอล์ ถูกกว่า (ประมาณ 4 บาท/ลิตร ธันวาคม 2550)
ใช้แล้วช่วยลดมลพิษไอเสียในอากาศ
ช่วยเรื่องโลกร้อน ลดก๊าซเรือนกระจก
สามารถปลูกทดแทนได้ อย่างต่อเนื่องไม่มีวันหมด
ข้อดีที่กล่าวมานั้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ และสิ่งแวดล้อม หลายๆประเทศในโลก ได้ใช้แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ได้แก่ สหภาพยุโรป, อินเดีย, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, แคนนาดา, โคลัมเบีย, ปารากวัย, เปรู, แอฟฟิกา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และประเทศไทย ส่วนประเทศที่ใช้เอทานอล มากกว่า 10% ได้แก่ บราซิล, สหรัฐอเมริกา, แคนนาดา และสวีเดน

ประเทศที่มีการยกเลิกสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สารเพิ่มค่าออกเทนชนิดอื่นมาทดแทน ซึ่งสารที่สามารถนำมาใช้ได้ และไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ คือ สาร MTBE และ เอทานอล บริษัท รถยนต์ได้ทำการทดสอบแล้ว ไม่ส่งผลกระทบต่อท่อยาง หรือ พลาสติก ได้มีการพัฒนาวัสดุที่ใช้ในระบบฉีดเชื้อเพลิงให้สามารถทนต่อสาร MTBE และ เอทานอลได้ ดังนั้นผู้ผลิตรถยนต์จึงได้ให้ความมั่นใจว่า รถยนต์ที่ผลิตมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 เป็นต้นมา สามารถใช้น้ำมันเบนซินที่ผสมเอทานอลได้ ในประเทศไทยได้ใช้น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2544

ข้อมูล การทดสอบแก๊สโซฮอล์ 95 เปรียบเทียบกับ น้ำมันเบนซิน 95 ของ ปตท. ดังนี้
1. จากการประเมินด้านสมรรถนะและมลพิษทางไอเสีย มลพิษไอเสีย, คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) ลดลงประมาณ 20%
อัตราการสิ้นเปลืองของน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1-2 %
กำลังรถยนต์ และอัตราเร่งไม่แตกต่างกัน
การเร่งแซง แก๊สโซฮอล์ อาจจะดีกว่าเบนซินเล็กน้อย;
2. ทดสอบโดยการขับภาคสนาม ระยะ 100,000 กิโลเมตร

ความสะอาดของเครื่องยนต์อยู่ในเกณฑ์ดี
ผลการวิเคราะห์ของน้ำมันเครื่องใช้งานทุกๆ 10,000 กิโลเมตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การประเมินชิ้นส่วนเครื่องยนต์ หลังวิ่งครบ 100,000 กิโลเมตร ไม่พบความผิดปกติด้านการสึกหรอของเครื่องยนต์ เช่น หัวฉีด, ท่อยาง, โอริง และพลาสติก
และนี่ก็เป็นผลของการทดสอบของ บริษัท ปตท. หลังจากการใช้ แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง

สำหรับโครงการ แก๊สโซฮอล์ 95 (E20) ที่จะมีใช้ในประเทศไทยถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ขนาดปัจจุบันที่มีจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่พอสมควร การที่เรียกว่า E20 หมายความว่าใช้น้ำมันเบนซิน 91 พิเศษ จำนวน 80% ผสมกับเอทานอล จำนวน 20% = 100% จึงได้ E20 นั่นเอง ตามที่มีข่าวทางการประกาศว่า ผู้ผลิตรถยนต์รายใด สามารถรองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E20 ได้ สามารถลดภาษีอีก 5% รถยนต์หลายยี่ห้อก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี รวมถึงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงก็จะต้องเตรียมความพร้อมไปพร้อมๆ กัน ก็ต้องรอต่อไปว่าเครื่องยนต์เก่า สามารถรองรับกับ E20 ได้หรือไม่ คงจะต้องมีการใช้งานหรือทดสอบระยะหนึ่ง ว่าจะเป็นอย่างไร ดังนั้น คงต้องรอผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องประกาศอย่างเป็นทางการ


ที่มา:http://www.shell.com/home/content/thailand-th/shell_for_motorists/fuels/gasohol/gasohol_0830.html

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552


แก๊สโซฮอล์ 91 VS เบนซิน 91

ยังคงเป็นข้อสงสัยอันดับต้นๆ ในแวดวงยานยนต์เมืองไทยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำมันก๊าซโซฮอล์ ซึ่งกำลังจะมาแทนที่น้ำมันเบนซิน ด้วยการประกาศ(แกมบังคับ)ของรัฐบาล ที่จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินชนิด 95 คงเหลือแต่เพียงเบนซิน 91 เท่านั้นที่ยังคงจำหน่ายอยู่

เมื่อเอ่ยถึงเบนซิน 91 ก็จะต้องนึกถึงน้ำมันที่อาจจะมาแทนที่เบนซิน 91 ในอนาคต เหมือนที่กำลังเกิดกับเบนซิน 95 นั่นก็คือ แก๊สโซฮอล์ 91 ซึ่งปัจจุบันมีเพียง “บางจาก” เจ้าเดียวเท่านั้น ที่ผลิตและจำหน่ายอยู่ โดยครั้งนี้ “ผู้จัดการมอเตอร์ริ่ง” ได้รับเชิญให้เข้าร่วมทดสอบค้นหาความแตกต่างในการขับขี่ของ แก๊สโซฮอล์ 91 กับ เบนซิน 91

สำหรับการทดสอบเป็นการร่วมเดินทางไปกับขบวนแรลลี่ของบางจาก โดยใช้รถโตโยต้า โซลูน่า วิออส 1.5เจ ที่บางจากเตรียมไว้ให้ในการทดสอบครั้งนี้ ซึงมีจำนวน 4 คันแบ่งเป็นเติมแก๊สโซฮอล์ 91 จำนวน 2 คันและเติมเบนซิน 91 อีก ทั้งนี้ขาไปเราขับคันที่เติมแก๊สโซฮอล์ 91 ส่วนขากลับเราขับเบนซิน 91

ความรู้สึกจากการขับทั้งสองคัน เราไม่เห็นถึงความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นอัตราเร่ง หรือความเร็วสูงสุดที่เราลองในวันนั้นได้ถึง 170 กม./ชม.แบบสบายๆ และเมื่อได้สอบถามกับสื่อมวลชนท่านอื่นๆ ที่เข้าร่วมทดสอบต่างก็เห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง โดยมีบางท่านให้เหตุผลว่า ถึงความรู้สึกไม่แตกต่างว่ามาจากการที่เป็นรถใหม่ สมรรถนะของเครื่องยนต์ยังดีอยู่ ซึ่งถ้าเป็นรถที่เก่าแล้วเราอาจจะสามารถสัมผัสถึงความแตกต่างได้ (แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีรถที่เก่าขนาดนั้น)

ด้านอัตราสิ้นเปลือง คันของเราได้ขับประกบคู่ชนิดไปไหนไปกัน จอดไหนจอดด้วยกับคันที่ใช้เบนซิน 91 ซึ่งขับโดยคุณประสงค์ แห่งเดลินิวส์ ผลปรากฏว่า คันของเราใช้ระยะทางวิ่งทั้งหมด 184 กม. เติมน้ำมัน(แก๊สโซฮอล์ 91) จำนวน 12.02 ลิตร คิดเป็นอัตราสิ้นเปลือง 15.31 กม./ลิตร

ขณะที่คันของคุณประสงค์ ใช้ระยะทางวิ่งทั้งหมด 184 กม.เท่ากัน (ถ้าไม่เท่ากันสิ แปลก เพราะวิ่งเกาะติดกันตลอดเส้นทาง) เติมน้ำมัน (เบนซิน 91) จำนวน 11.73 ลิตร คิดเป็นอัตราสิ้นเปลือง 15.67 กม./ลิตร เรียกได้ว่า เบนซินประหยัดกว่านิดหน่อย แต่ถ้าคิดเป็นบาท/กม. แล้วละก็ แก๊สโซฮอล์ 91 จะมีอัตราที่ถูกว่าเบนซิน 91 อยู่นิดหน่อย คือ เบนซิน 91 1.56 บาท/กม. ส่วนแก๊สโซฮอล์ 91 1.53 บาท/กม. เนื่องจากราคาของแก๊สโซฮอล์ 91 (23.49 บาท) ถูกกว่า เบนซิน 91 (24.49 บาท) อยู่ 1 บาท(ราคาขณะทดสอบ)

ส่วนอีก 2 คันไม่ได้วิ่งประกบกันเหมือนเรา คันแรกเติมเบนซิน 91 ใช้ระยะทางวิ่ง 219 กม. เติมน้ำมันจำนวน 12.73 ลิตร คิดเป็นอัตราสิ้นเปลือง 17.20 กม./ลิตร (1.42 บาท/กม.) คันที่สองเติมแก๊สโซฮอล์ 91 ใช้ระยะทางวิ่ง 196 กม. เติมน้ำมันจำนวน 9.54 ลิตร คิดเป็นอัตราสิ้นเปลือง 20.55 กม./ลิตร (1.14 บาท/กม.) ซึ่งเราไม่ทราบว่าเขาวิ่งอย่างไรถึงสามารถทำอัตราสิ้นเปลืองได้ดีถึงเพียงนี้ สำหรับผลทดสอบของบางจากเองได้ใกล้เคียงกับคันของเราที่วิ่งประกบกับคันของคุณประสงค์

สรุปว่า ทั้งในด้านของประสิทธิภาพและอัตราความสิ้นเปลืองของแก๊สโซฮอล์ 91 กับเบนซิน 91 นั้นเราแทบไม่เห็นความแตกต่าง แต่จะมีจุดต่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ ตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลงหากเราหันมาใช้แก๊สโซฮอล์ 91 แทน เบนซิน 91 ซึ่งจะส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศของเราดีขึ้นและถือ เป็นการช่วยเศรษฐกิจของชาติในอีกด้านหนึ่งด้วย


ที่มา:http://www.worldusedcar.com/thai/gasohol2